วัดพระพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร สร้างขึ้นเมื่อใดนั้นยังไม่ปรากฎหลักฐานชัดเจน
แต่เป็นปูชนียสถานสำคัญคู่บ้านคู่เมือง จ.สกลนครมาแต่โบร่ำโบราณ ลักษณะองค์พระธาตุเชิงชุมเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูน (ฐานรูปสี่เหลี่ยมสูง 24 เมตร) ส่วนด้านบนเป็นทรงบัวเหลี่ยมไม่มีลวดลายประดับ


ส่วนยอดฉัตรทองคำเหนือองค์พระธาตุทำด้วยทองคำบริสุทธิ์มีน้ำหนัก 247 บาท ซุ้มยอดประตูมีลักษณะเป็นยอดปราสาทข้างในทึบสร้างด้วยศิลาแลงและหินทรายแดง มีซุ้มระตูทั้ง 4 ด้าน ซุ้มประตูทางเข้าจริงมีเพียงแค่ 1 ด้านคือตะวันออก ส่วนอีก3 ด้าน ใต้-เหนือ-ตะวันตก เป็นวุ้มประตูหลอกแบบขอม
องค์พระธาตุนั้นได้สร้างครอบรอยพระพุทธบาททั้ง 4 พระองค์เอาไว้ (สถาศักดิ์สิทธิ์ด้านในผู้หญิงไม่สามารถเข้าไปได้)
อันได้แก่ พระกกุสันทะ พระโกนาคม พระกัสสะปะ และพระโคดมหรือพระศรีอริยเมตไตรย
สันนิษฐานว่าเดิมพระธาตุเชิงชุมอาจเป็นปราสาทหินทรายศิลปะสมัยขอม เนื่องจากภายในกรอบประตูทางเข้าอุโมงค์ด้านขวามือพบจารึกพระธาตุเชิงชุมอักษรขอมโบราณราวพุทธศตวรรษที่ 16 แต่องค์พระธาตุในปัจจุบันเป็นศิลปะล้านช้าง
เนื่องด้วยอิทธิพลของอาณาจักรล้านช้างแผ่เข้ามาบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยราวพุทธศตวรรษที่ 19 และได้มีการบูรณะองค์พระธาตุขึ้นมาใหม่ ภายในวิหารใกล้พระธาตุเชิงชุมเป็นที่ประดิษฐาน หลวงพ่อพระองค์แสน
พระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทอง ปางมารวิชัยศิลปะเชียงแสน ประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชี ฐานมีความสูง 1.35 เมตร หน้าตักองค์พระกว้าง 2 เมตร วัดจากหน้าตักถึงยอดพระเกศสูง 3.2 เมตร เป็นที่เคารพนับถือและเป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชนในจังหวัดสกลนคร


สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด ได้แก่ – พระอุโบสถหลังเดิม (สิมเก่า) สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2370 ลักษณะเป็นสิมแบบโถง (สิม เป็นภาษาอีสาน แปลว่า อุโบสถ) โครงสร้างเป็นไม้ก่ออิฐถือปูน หลังคาเป็นกระเบื้องไม้แบบเดิม ภายในมีจิตรกรรมภาพเถาไม้เลื้อยเป็นแนวรอบอาคาร หน้าบันมีจิตรกรรมเป็นรูปเทพบุตร
เทพธิดา ดาวประจำยาม มังกร และเถาไม้เลื้อย ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปหลายองค์ ทั้งที่สร้างด้วยไม้และปูนปั้น – บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ เป็นบ่อน้ำที่มีมาพร้อมองค์พระธาตุเชิงชุม เดิมมีน้ำพุผุดขึ้นมาเนื่องจากเป็นปลายทางของลำน้ำใต้ดินซึ่งไหลมาจากเทือกเขาภูพาน
ผ่านศูนย์ราชการด้านทิศเหนือ ผ่านใจกลางเมืองข้างวัดเหนือ แล้วไหลมาผุดที่นี่ เรียกว่า “ภูน้ำซอด” หรือ “ภูน้ำลอด” แล้วไหลผ่านไปที่สระพังทอง ในสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ซึ่งอยู่ติดกับวัด เมื่อน้ำน้อยลงเรื่อย ๆ จึงได้มีการทำผนังกั้นไม่ให้ดินพังลงไป ในอดีตจะมีการนำน้ำจากบ่อน้ำนี้ไปประกอบพิธีกรรมสำคัญต่าง
- วัดพระธาตุนาดูน จ.มหาสารคาม
- วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร จ.นครพนม
- วัดป่าภูก้อน (พระพุทธไสยาสน์) จ.อุดรธานี
แผนที่ Google Map
ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติม
https://thai.tourismthailand.org