วัดสมัยกรุงศรีอยุธยาที่มีพระนอนที่สวยลักษณะเด่นและพระปรางค์ที่ประดิษฐานเดิมของเทวารูปพระเจ้าอู่ทองแห่งหอพระเทพบิตร



หลังจากที่พระเจ้าอู่ทองทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นในปี พ.ศ. 1893 จึงสร้างวัดพุทไธศวรรย์ขึ้นในปี พ.ศ. 1896
บริเวณที่พระองค์ท่านเคยตั้งพลับพลาเพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์การตั้งกรุงศรีอยุธยา แลเมื่อครั้งเสียกรุงครั้งที่ 2 วัดพุทไธศวรรย์ไม่ได้ถูกเผาทำลายจึงมีสภาพสมบูรณ์มาจนถึงปัจจุบัน



พระปรางค์ประธาน
องค์สีขาวสวยตั้งตระหง่านเห็นเด่นชัด พระปรางค์เป็นศิลปะลพบุรีที่ได้รับอิทธิพลจากขอม และเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุบริเวณรอบพระปรางค์จะมีพระระเบียงด้านนอกทึบและมีพระพุทธรูปสีทองอร่ามศิลปะแบบสุโขทัยเรียงรายอยู่

ตำหนักพระพุทธโฆษาจารย์
ไม่ปรากฎชื่อที่แท้จริงในเอกสารทางประวัติศาสตร์ แต่นักวิชาการในสมัยหลังได้สมมติเรียกอาคารหลังนี้ว่า”ตำหนักพระพุทธโฆษาจารย์” อาคารหลังดังกล่าวไม่น่าที่จะเป็นตำหนักหรือเรือนที่พักได้ หากแต่พิจารณาจาากตำแหน่งที่ตั้งถัดจากพระอุโบสถออกมาเหมือนกับ อาคารทรงตึกที่วัดเจ้าย่าจึงชวนให้คิดว่าอาคารหลังนี้น่าที่จะเป็นศาลาการเปรียญของวัด ภายในอาคารชั้น 2 มีภาพจิตกรรมฝาผนังในสมัยอยุธยาตอนปลาย ที่ผนังสกัด(ด้านกว้าง)ทางด้านทิศเหนือเขียนเรื่องไตรภูมิ ผนังสกัด(ด้านกว้าง)ทางทิศใต้เขียนภาพมารผจญ ผนังด้านแป(ด้านยาว) ทางด้านทิศตะวันออกเขียนภาพพระพุทธบาทที่สำคัญ 5แห่งและผนังด้านแป(ด้านยาว) ทางด้านทิศตะวันตกเขียนภาพทศชาติ
วิหารพระนอนอยู่ด้านข้างตอนใต้ของวิหารหลวง ภายในมีองค์พระนอนก่ออิฐถือปูนเป็นรูปแบบที่นิยมมาตั้งแต่สมัยทวารวดี ลพบุรี อู่ทอง ความเชื่อผู้ที่ได้มาสักการะเชื่อว่าจะมีความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน


วัดพุทไธยสวรรรค์ ตั้งอยู่ ต.สำเภาล่ม อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา
จากปากทางเข้ามาสักเล็กน้อยจะมีลานจอดรถด้านหน้า บรรยากาศด้านหน้าจะมีติดริมแม่น้ำเจ้าพระยามองวิวสวยงามมาก สามารถทำบุญปล่อยปลาหรือให้อาหารปลาริมแม่น้ำได้เหมือนกัน (ไปเที่ยววัดพนัญเชิง)
เปิดเวลา 08.30-17.30 น.
แผนที่ Google Map
ขอบคุณข้อมูล : https://www.talontiew.com/wat-phutthaisawan/